แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว

แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูปอ

แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูปอ ตั้งอยู่ที่บ้านนาบอน ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อยประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่มีการค้นพบไม้กลายเป็นหินจำนวนมาก ไม้กลายเป็นหินส่วนใหญ่ที่พบวางอยู่บนพื้นผิว บางต้นยังวางต่อเนื่องกันให้เห็นเป็นลำต้น บางชิ้นวางอยู่บนชั้นตะกอนขนาดละเอียด ทางลำดับชั้นหินชั้นหินที่พบไม้กลายเป็นหินอยู่ด้านบนทางที่พบซากดึกดำบรรพ์แหล่งภูน้อย จากการศึกษาไม้กลายเป็นหิน พบว่าเป็นพืชตระกูลสน (Boonchai et al., 2020)

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในกลุ่มปลา

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในกลุ่มปลาเองก็พบในสภาพสมบูรณ์และแสดงความหลากหลายด้วยเช่นกัน โดยปลากระดูกแข็ง ทั้งกลุ่มปลาที่มีครีบเป็นก้านคีบและปลาปอด ซึ่งเป็นปลาที่มีครีบเป็นพูเนื้อ พบมากถึง 6 ชนิด ในแหล่งภูน้ำจั้น อำเภอกุฉินารายณ์ และแหล่งภูน้อย อำเภอคำม่วง ในจำนวนนี้มีเพียงตัวเดียว ที่ยังต้องอาศัยความสมบูรณ์ของซากดึกดำบรรพ์ในการระบุชนิด ในหมวดหินเสาขัวและหมวดหินโคกกรวดอีกอย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งตัวอย่างที่ค่อนข้างจำกัดมีเพียงเศษเกล็ด และเศษฟันเท่านั้น

แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว

ในขณะที่ซากดึกดำบรรพ์ปลาฉลามไฮโบดอนท์ ซึ่งเป็นปลาที่มีโครงร่างภายในเป็นกระดูกอ่อนมีเกล็ดขนาดเล็กฝังอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้การกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ของฉลามมักพบเพียงเศษฟัน เศษเกล็ด และเงี่ยงที่มีโครงสร้างแข็ง ถึงแม้ว่าฉลามจะมีข้อจำกัดในการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ แต่จากซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กที่ได้จากการร่อนตะกอนกลับพบว่ามีความหลากหลายมากถึง 8 ชนิด

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในกลุ่มปลา

ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในกลุ่มปลาเองก็พบในสภาพสมบูรณ์และแสดงความหลากหลายด้วยเช่นกัน โดยปลากระดูกแข็ง ทั้งกลุ่มปลาที่มีครีบเป็นก้านคีบและปลาปอด ซึ่งเป็นปลาที่มีครีบเป็นพูเนื้อ พบมากถึง 6 ชนิด ในแหล่งภูน้ำจั้น อำเภอกุฉินารายณ์ และแหล่งภูน้อย อำเภอคำม่วง ในจำนวนนี้มีเพียงตัวเดียว ที่ยังต้องอาศัยความสมบูรณ์ของซากดึกดำบรรพ์ในการระบุชนิด ในหมวดหินเสาขัวและหมวดหินโคกกรวดอีกอย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งตัวอย่างที่ค่อนข้างจำกัดมีเพียงเศษเกล็ด และเศษฟันเท่านั้น

แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว

ซากดึกดำบรรพ์เต่า

เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์มาจนถึงยุคปัจจุบันลักษณะเฉพาะของกลุ่มก็คือมีกระดองหลัง (Carapace) และกระดองท้อง (Plastron) ซึ่งเป็นส่วนแข็งของร่างกาย ทำให้ส่วนดังกล่าวถูกเก็บรักษาและกลายสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ นอกจากกระดองส่วนแข็งอื่นของร่างกายเต่า ก็สามารถถูกเก็บรักษาและกลายสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ ทั้งชิ้นส่วนของกระดูกต่าง ๆ รวมทั้งกะโหลก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่นำมาใช้ในการจำแนกชนิด และนำไปสู่การศึกษาความสำคัญด้านต่าง ๆ

ในประเทศไทยมีการค้นพบแหล่งซากดึกดำบรรพ์เต่าหลากหลายยุค และหลายแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่มหายุคมีโซโซอิก จนถึงมหายุคซีโนโซอิก โดยส่วนใหญ่มีการค้นพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีแหล่งซากดึกดำบรรพ์หลายแห่งในยุคจูแรสซิกตอนปลายถึงครีเอเชียตอนต้น ในหมวดหินภูกระดึง หมวดหินเสาขัว และหมวดหินโคกกรวด โดยมีการศึกษาและรายงานอย่างต่อเนื่องโดย ดร.ไฮยัน ตง และคณะ ทีมบรรพชีวินวิทยาไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งมีแหล่งขุดค้นที่สำคัญในจังหวัดคือ แหล่งขุดค้นภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ แหล่งขุดค้นภูน้อย อำเภอคำม่วง และแหล่งบ้านห้วยยาว อำเภอสามชัย โดยซากดึกดำบรรพ์เต่ามีการค้นพบร่วมกับไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุคอื่น ๆ เช่น จระเข้ ปลากระดูกแข็ง ฉลามน้ำจืด และเทอโรซอร์ เป็นต้น ความหลากหลายของซากดึกดำบรรพ์เต่าน้ำจืดที่พบในจังหวัดกาฬสินธุ์มีชนิดใหม่ของโลก 4 ชนิด จากความหลากหลายของซากดึกดำบรรพ์ 12 ชนิดที่พบในประเทศไทยในปัจจุบัน นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ และสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความสำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีการขับเคลื่อนงานสำรวจ ขุดค้น และวิจัยในแหล่งดังกล่าวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

จระเข้ประจำถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์

ร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นส่วนที่สามารถถูกเก็บรักษาได้ดี และมีโอกาสกลายเป็นฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ได้ดีที่สุด ต้องเป็นส่วนที่แข็งของร่างกาย แต่บางครั้งก็พบว่าส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มสามารถกลายสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้เช่นเดียวกั นเพียงแต่โอกาสพบนั้นน้อยมาก ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์จระเข้โบราณจึงถูกพบในส่วนของกะโหลก กระดูกร่างกาย และเกล็ด (osteoderm) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถพบฟันซึ่งผิวชั้นนอกถูกเคลือบด้วยสารเคลือบฟัน หรือ อีนาเมล (enamel) ซึ่งช่วยทำหน้าที่ป้องกันตัวฟันให้อยู่คงสภาพดี ในบางครั้งเราอาจพบร่องรอยต่าง ๆ ที่จระเข้สร้างขึ้นในอดีต เช่น รอยตีน รอยคลาน อุจจาระ หรือ กรวดหินในกระเพาะอาหาร ก็เป็นได้ เมื่อใดก็ตามที่นักบรรพชีวินวิทยาพบอุจจาระหรือกรวดหินในกระเพาะอาหารปรากฏอยู่ในซากดึกดำบรรพ์จระเข้โบราณ หรือในแหล่งใกล้เคียงก็สามารถอนุมานได้ว่าเป็นร่องรอยที่เกิดจากจระเข้จริง ๆ น่าเสียดายที่การขุดค้นในประเทศไทยเจออุจจาระและกรวดในกระเพาะอาหารของจระเข้โบราณน้อยมาก หรือพบแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของสัตว์กลุ่มใดแน่

อ้างอิงจาก เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยา อุทยานธรณีกาฬสินธุ์” วันที่ 28-29 มีนาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑ์สิรินธร

นโยบายการใช้ Cookie | This website uses cookies

คุณสามารถเลือกปฏิเสธการทำงานของคุ้กกี้ได้ตามความต้องการของคุณ โดยการตั้งค่าเบราว์เซอร์หรือการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของคุณ เพื่อระงับการเก็บรวมรวบข้อมูลโดยคุกกี้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากคุณตั้งค่าเบราว์เซอร์ หรือค่าความเป็นส่วนตัวของคุณ ด้วยการปฎิเสธการทำงานของคุกกี้ทั้งหมด คุณอาจไม่สามารถใช้งานฟังก์ชั่นบางอย่าง หรือทั้งหมดบนเว็บไซต์kalasingeoparkksuacthได้อย่างมีประสิทธิภาพ กดปุ่ม "ยอมรับทั้งหมด" เพื่ออนุญาตให้เราสามารถนำข้อมูลการใช้งานไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ต่อไปนโยบายคุกกี้
We use cookies to personalise content and ads, to provide social media features and to analyse our traffic. We also share information about your use of our site with our social media, advertising and analytics partners who may combine it with other information that you’ve provided to them or that they’ve collected from your use of their services.
นโยบายการใช้คุกกี้ | Cookie Policy