Thailand Geopar
คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี ประกาศไว้มีทั้งหมด 11 แห่ง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
อุทยานธรณีระดับโลกของ ยูเนสโก
อุทยานธรณีโลกสตูล มีความโดดเด่นด้านซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลมหายุคพาลีโอโซอิกที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และลักษณะภูมิประเทศแบบคลาต์
อุทยานธรณีโคราช มีความโดดเด่นด้านภูมิประเทศของเทือกเขารูปอีโต้, ด้านซากดึกดำบรรพ์ และความหลากหลายของซากดึกบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ยุคนิโอจีนและควอเทอร์นารี
อุทยานธรณีระดับประเทศ ของไทย
อุทยานธรณีอุบลราชธานี มีความโดดเด่นด้านภูมิประเทศของหินทรายกลุ่มหินโคราช ลักษณะธรณีสัณฐานทีแปลกตา และซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ช่วงอายุสุดท้ายของประเทศไทย
อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ มีความโดดเด่นด้านธรณีสัณฐานของประเทศไทย เป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ได้แก่ อินโดจีน และชาน-ไทยเคลื่อนที่เข้าหากันในช่วงประมาณ 240-200 ล้านปีก่อน
อุทยานธรณีขอนแก่น ครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอของจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ อำเภอเวียงเก่า และพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง รวมเป็นพื้นที่ 1,052 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่พบซากดึกดำบรรพ์กระดูกของไดโนเสาร์ สายพันธุ์ใหม่ของโลก 5 สายพันธุ์ อายุประมาณ 150 ล้านปี และมีศูนย์ศึกษาวิจัย พิพิรภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูเวียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ของนักท่องเที่ยว และ ประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ภูมิประเทศแสดงลักษณะ แบบแอ่งกระทะที่ล้อมรอบด้วยเขาหินทราย ทําให้ เกิดแหล่งท่องเที่ยวรรรมชาติ ได้แก่ ผาชมตะวัน น้ำตกตาดฟ้า โคกภูตากา เป็นต้น
อุทยานธรณีระดับท้องถิ่น
อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินจังหวัดตาก มีความโดดเด่นด้านซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน โดยเป็นไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก รับรองโดยกินเนสบุ้ค มีอายุประมาณ 1.2 แสนล้านปี
อุทยานธรณีชัยภูมิ มีความโดดเด่นด้านในการค้นพบซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ ใน 3 มหายุค ได้แก่ มหายุคพาลิโอโซอิก พบสัตว์ทะเลโบราณอายุ 298 - 259.1 ล้านปี มหายุคมีโซโซอิก พบมูลปลาโบราณ 220 ล้านปี และพบไดโนเสาร์กินพืชที่เก่าแก่ที่สุด อายุ 210 - 209 ล้านปี และมหายุคซีโอโซอิก พบหมีแพนด้ายักษ์และสัตว์ร่วมสมัย อายุสองแสนปี
อุทยานธรณีพุหางนาค มีความโดดเด่นด้านแหล่งธรณีวิทยาโครงสร้างการพบหลักฐาน ทางรรณีพิบัติภัยที่สัมพันธ์กับการย้ายถิ่น ในอดีต ซึ่งเกิดจากปัจจัยของแนวรอยเลื่อน แหล่งน้ำมันดิบอู่ทอง ที่ถูกควบคุมโดย แนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่และพื้นที่หาดเลนน้ำขึ้นน้ำลง ของทะเลโบราณ บริเวณอำเภออู่ทอง
อุทยานธรณีลำปาง มีความโดดเด่นด้านปริมาณสำรองมากที่สุดในประเทศไทย, ซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมากกว่า 20 สายพันธุ์, ชั้นหอยขมน้ำจืดที่หนาที่สุดในโลก, ภูเขาไฟโบราณของประเทศไทย และแหล่งดินเบาแหล่งเดียวที่พบในประเทศไทย
อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ มีความโดดเด่นด้านซากดึกดำบรรพ์ในมหายุคมีโซโซอิก มากกว่า 30 แหล่งและความหลาหลายทางชีวภาพสูง แหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อุทยานธรณีเชียงราย มีความโดดเด่นในด้านธรณีพิบัติภัยรอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งเชื่อมโยงกับการล่มสลายของเวียงหนองหล่ม ,การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสองยุค , ภูมิประเทศหินปูนและ
ระบบถ้ำที่มีความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย โดยมีเรื่องราวเชื่อมโยงกับการกู้ภัยระดับโลกที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา
รายชื่ออำเภอที่อยู่ในเขตอุทยานธรณี อ.แม่สาย / อ.แม่จัน และ อ.เชียงแสน
ปี พ.ศ. ที่จัดตั้ง 21 ก.พ. 2567
เนื้อที่(ตร.กร.) 1,434