เกี่ยวกับอุทยานธรณีกาฬสินธุ์

 

จังหวัดกาฬสินธุ์ ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งมรดกทางธรณีที่สำคัญ มีคุณค่า และมีความโดดเด่นโดยเฉพาะแหล่งธรณีวิทยาประเภทซากดึกดำบรรพ์ โดยมีการค้นพบแหล่งซากดึกดำบรรพ์มากกว่า 30 แหล่งและหลาย ๆ แหล่งมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ มีการค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุด และแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย อำเภอคำม่วง เป็นแหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในมหายุทธมีโซอีกที่ใหญ่ที่สุด และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด แหล่งปลาโบราณภูน้ำจั้น อำเภอกุฉินารายณ์ มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลามหายุค
มีโซโซอิก ในลักษณะที่มีความสมบูรณ์และมีจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยพบมาในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์แบบร่องรอย ได้แก่ แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ภูแฝก อำเภอนาคู ซึ่งพบทั้งรอยตีนไดโนเสาร์กินเนื้อ และรอยตีนไดโนเสาร์กินพืชครั้งแรกของประเทศไทย และแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินภูปอ อำเภอคำม่วง ซึ่งช่วยเติมเต็มเรื่องราวของระบบนิเวศของจังหวัดกาฬสินธุ์เมื่อครั้งอดีตได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์สิรินธรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ ให้ความรู้กับประชาชน รวมถึงเป็นคลังตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์อันเป็นมรดกของแผ่นดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย


 

นอกจากมรดกทางธรณีวิทยาจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา ประเพณี และวิถีชีวิต ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อาทิ วิถีชาวผู้ไทที่ยังคงภาษาวัฒนธรรมเดิมเอาไว้ อีกทั้งไหมแพรวาอันเลื่องชื่อ และประเพณีบั้งไฟตะไลล้านแห่งเดียวในโลก 
นอกจากนี้จังหวัดกาฬสินธุ์ยังคงความอุดมสมบูรณ์ และความสวยงามของทรัพยากรธรรมชาติตามแนวเทือกเขาภูพาน เช่น ภูผาผึ้ง ลานหินปุ่ม และถ้ำฝ่ามือแดง น้ำตกผาลี่ และแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัด เช่น ลำน้ำลำปาว และเขื่อนลำปาว ซึ่งมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวกาฬสินธุ์มาอย่างยาวนาน และปัจจุบันหลาย ๆ พื้นที่ยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนอีกด้วย

D:งานจ้าง ปี 2566KS Geoparkโบชัวร์in.jpg

จากมรดกทั้ง 3 ด้านที่กล่าวมาข้างต้น จังหวัดกาฬสินธุ์จึงได้ประกาศกำหนดให้พื้นที่อำเภอ สหัสขันธ์ อำเภอคำม่วง อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอนาคู และอำเภอเขาวง ของจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมพื้นที่ 2,795.77 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานธรณีระดับท้องถิ่นของประเทศไทย พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานอุทยานธรณีกาฬสินธุ์ขึ้น ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565 ซึ่งมีเป้าประสงค์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และการพัฒนาพื้นที่ในทุก ๆ ด้านอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การเปิดตัวอุทยานธรณีกาฬสินธุ์พร้อมตราสัญลักษณ์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ณ พิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ตัวแทนผู้อำนวยการอุทยานธรณีกาฬสินธุ์ สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 กรมทรัพยากรธรณีพร้อมตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมกันสร้างการรับรู้การตั้งอุทยานธรณีกาฬสินธุ์ให้ประชาชนได้รับรู้โดยทั่วกัน
 

นโยบายการใช้ Cookie | This website uses cookies

คุณสามารถเลือกปฏิเสธการทำงานของคุ้กกี้ได้ตามความต้องการของคุณ โดยการตั้งค่าเบราว์เซอร์หรือการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของคุณ เพื่อระงับการเก็บรวมรวบข้อมูลโดยคุกกี้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากคุณตั้งค่าเบราว์เซอร์ หรือค่าความเป็นส่วนตัวของคุณ ด้วยการปฎิเสธการทำงานของคุกกี้ทั้งหมด คุณอาจไม่สามารถใช้งานฟังก์ชั่นบางอย่าง หรือทั้งหมดบนเว็บไซต์kalasingeoparkksuacthได้อย่างมีประสิทธิภาพ กดปุ่ม "ยอมรับทั้งหมด" เพื่ออนุญาตให้เราสามารถนำข้อมูลการใช้งานไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ต่อไปนโยบายคุกกี้
We use cookies to personalise content and ads, to provide social media features and to analyse our traffic. We also share information about your use of our site with our social media, advertising and analytics partners who may combine it with other information that you’ve provided to them or that they’ve collected from your use of their services.
นโยบายการใช้คุกกี้ | Cookie Policy