เมืองกุดสิมนารายณ์ และอำเภอเขาวง บรรพชนคนภูไท

เมืองกุดสิมนารายณ์ และอำเภอเขาวง บรรพชนคนภูไท

เมืองกุดสิมนารายณ์ และอำเภอเขาวง บรรพชนคนภูไท ได้อพยพโยกย้ายจากเมืองวังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เข้ามาสู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงสืบเนื่องมาจากการมีปัญหาทางด้านการเมืองการปกครอง ท่านผู้นำพร้อมด้วยบริวารจึงพากันโยกย้ายมาหาที่ทำกินแห่งใหม่ โดยการนำของท่านราชวงศ์กอ การตั้งเมืองกุดสิมนารายณ์ราชวงศ์กอ ท้าวด้วง และท้าวต้อพร้อมด้วยสมัครพรรคพวก ที่ได้อาศัยอยู่บนหลังเขาภูพานเป็นเวลานานพอสมควร ก็ยังเห็นว่าเป็นทำเลที่ยังไม่เหมาะสม ก็เลยพากันอพยพลงมาจากหลังเขาภูพาน จึงได้มาพบสถานที่แห่งหนึ่งเป็นบริเวณกว้างมีลำน้ำสายใหญ่สายหนึง (ลำพะยัง) และลำห้วยเล็กๆอีกหลายสาย ทั้งมีกุดหนองน้ำอีหลายแห่งที่พอจะใช้สอยบริโภค ประกอบอาชีพต่างๆ

อีกทั้งยังมีป่าไม้เขียวชะอุ่มร่มรื่นน่าอยู่อาศัย จึงพร้อมใจปักหลักอยู่ตรงนี้ กุดที่พบครั้งแรกมีสิม (โบสถ์) และใบเสมาแกะสลักเป็นลายจึงได้ตั้งชื่อว่าบ้านกุดสิมนารายณ์ พ.ศ. 2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่สามแห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯให้ราชวงศ์ (กอ) ราชวงศ์เมืองวัง แต่งตั้งเป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ คุมคน 3,443 คน ขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ ได้รับพระราชทานเงิน 2 ชั่ง ถาดหมาก 1 คณโฑเงินหนึ่งสัปทนการ 1 เสื้อเข้มขามก้านหนึ่ง ผ้าโพกแพรขลิบหนึ่ง ผ้าดำปักทองมีชัยหนึ่ง แพรขาวห่มหนึ่ง ผ้าปูมหนึ่ง ให้ท้าวด้วงเป็นอุปฮาด รับพระราชทานเงิน 10 ตำลึง เสื้อคัดลัดดอกลาย 1 แพรสีทับทิมติดขลิบ1ผ้าห่มขาว 1 ผ้าเชิงปม 1 พระธิเบศร์วงศ์ศา (กอ) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 1 รับราชการเป็นเจ้าเมืองรวมเวลา 17ปี มีความซื่อสัตย์สุจริตตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ปกครองชาวบ้านอยู่ด้วยความสงบสุข ลุถึงพ.ศ. 2405 ก็ถึงแก่อนิจกรรม พระธิเบศร์วงศา (ด้วง) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 2 (พ.ศ. 2409-พ.ศ. 2423) ทำหน้าที่เป็นอุปฮาดมาเป็นเวลา 17 ปี และรับหน้าที่รักษาการแทนเจ้าเมือง4 ปี ลุถึง พ.ศ. 2409 จศ.1228 ปีขาลอัฐศก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองกาฯร โปรดเกล้าฯแต่งตั้งอุปฮาดด้วง เป็นเจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คนที่ 2 ท่านพระธิเบศร์วงศา (ด้วง) ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่รับราชการ ปกครองชาวเมืองมาด้วยความสงบเรียบร้อยเสมอมาเป็นเวลา 14 ปี ครั้นถึง พ.ศ. 2423 จศ.124 ปีมะโรงโทศกท่านพระธิเบศร์วงศา ด้วงก็ถึงแก่อนิจกรรม พระธิเบศร์วงศา (กินรี) เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์คน ที่ 3 (2426-2451) ลุถึงพ.ศ. 2426 จศ. 1242 ปี มะแม เบญจศก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวกินรี เป็นพระธิเบศร์วงศา (ต้นตระกูล ภูไท โทธิเบศร์วงศา) เจ้าเมืองกุดสิมนาร่ายณ์ หัวเมืองชั้นตรี พร้อมแต่งตั้งท้าวเพียเป็นหัวหน้าภูไทช่วยทำการในท้าวกินรีเจ้าเมือง ได้แก่ ท้าวสาร (ต้นตระกูล ภูไท วุฒิสาร) ท้าวเสน หรือ ท้าววรเสนไชยะ (ต้นตระกูล ภูไท วรเสนไชยะ, ไชยเขตขันธุ์, ไชยขันธุ์) ท้าวหลอยหลิ่ง (ต้นตระกูล ภูไท ศรีหลิ่ง, ศรีหริ่ง) อนึ่งพระธิเบศร์วงศา (กินรี) ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ปกครองเมืองกุดสิมนารายณ์ ตั้งแต่พ.ศ. 2426-2451 รวมเป็นเวลา 25 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เมืองกุดสิมนารายณ์ถูกยุบเป็นอำเภอกุดสิมนารายณ์ พระธิเบศร์วงศา (กินรี) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอกุดสิมนาร่ยณ์ จนถึงพ.ศ. 2454 ท่านก็ได้ถึงแก่อนิจกรรม เป็นการสิ้นสุดระบบเจ้าเมืองภูไทอำเภอกุดสิมนารายณ์ เมื่อครั้งที่ตั้งอยู่บ้านกุดสิม มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองอยู่ 4 ท่านคือ พระธิเบศร์วงศา (กินรี) ขุนมาลาวินิจฉัย (ขำ พลวิจิตร) หลวงมหาดไท หลวงวิภักดิ์สถานุกุล (ลิ มัธยมนันท์)

เมืองกุดสิมนารายณ์ และอำเภอเขาวง บรรพชนคนภูไท

ลุถึง พ.ศ. 2456 กลางเดือนมีนาคม ทางราชการก็ย้ายเมืองกุดสิมนารายณ์ไปตั้งอยู่ที่บ้านบัวขาว และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอกุฉินารายณ์ ส่วนที่ตั้งอำเภอเดิมก็กลายมาเป็นตำบล ก็คือตำบลคุ้มเก่านับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2456 มาถึงวันที่1กรกฎาคม 2512 นับเป็นเวลา56 ปี ถือว่าเป็นเวลาที่นานมากจึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเขาวง โดยมีเขตปกครองรวม 5 ตำบล คือ

ตำบลคุ้มเก่า

ตำบลสงเปลือย

ตำบลนาคู

ตำบลภูแล่นช้าง

ตำบลหนองผือ

 

ต่อมากิ่งอำเภอเขาวงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเขาวง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2517 ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง และเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ เรื่องแบ่งเขตท้องที่อำเภอเขาวง จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาคู โดยแยกตำบลนาคู ตำบลภูแล่นช้าง ตำบลบ่อแก้ว ตำบลโนนนาจาน และตำบลสายนาวังรวม 5 ตำบล ทำให้อำเภอเขาวงเดิมมีเขตปกครอง 11 ตำบล เหลือเขตปกครอง 6 ตำบล ได้แก่ตำบลคุ้มเก่า ตำบลกุดปลาค้าว สระพังทอง หนองผือ กุดสิมคุ้มใหม่ และตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวงมีที่น่าเที่ยว วัดวังคำ ตั้งอยู่ที่บ้านนาทวี ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นวัดไทยวัดเดียวในกาฬสินธุ์ที่มีสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง ค่ะ โดยชุมชนบ้านนาวีนั้น เป็นชุมชนชาวภูไทที่อยู่อาศัยทั้งที่ประเทศไทย และลาว จึงได้นำศิลปะล้านช้างที่สวยงามอย่างมากในภาคอีสานมาเป็นสื่อกลางในการเชื่อมวิถีชาวภูไท และชุมชนเข้าด้วยกันนั่นเอง

แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว

นโยบายการใช้ Cookie | This website uses cookies

คุณสามารถเลือกปฏิเสธการทำงานของคุ้กกี้ได้ตามความต้องการของคุณ โดยการตั้งค่าเบราว์เซอร์หรือการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของคุณ เพื่อระงับการเก็บรวมรวบข้อมูลโดยคุกกี้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม หากคุณตั้งค่าเบราว์เซอร์ หรือค่าความเป็นส่วนตัวของคุณ ด้วยการปฎิเสธการทำงานของคุกกี้ทั้งหมด คุณอาจไม่สามารถใช้งานฟังก์ชั่นบางอย่าง หรือทั้งหมดบนเว็บไซต์kalasingeoparkksuacthได้อย่างมีประสิทธิภาพ กดปุ่ม "ยอมรับทั้งหมด" เพื่ออนุญาตให้เราสามารถนำข้อมูลการใช้งานไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ต่อไปนโยบายคุกกี้
We use cookies to personalise content and ads, to provide social media features and to analyse our traffic. We also share information about your use of our site with our social media, advertising and analytics partners who may combine it with other information that you’ve provided to them or that they’ve collected from your use of their services.
นโยบายการใช้คุกกี้ | Cookie Policy