อุทยานธรณี ถูกตั้งขึ้นโดยใช้กระบวนการ “จากล่างสู่บน” ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และหน่วยงานในท้องถิ่นและภูมิภาคทั้งหมด (เช่น เจ้าของที่ดิน กลุ่มชุมชน ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว ประชาชนในพื้นที่ และองค์กรท้องถิ่น) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องการความร่วมมืออย่างจริงจังของชุมชนท้องถิ่น ความเข้มแข็งของพันธมิตรจากหลายภาคส่วนในท้องถิ่น และการสนับสนุนของภาครัฐในระยะยาว และมีการพัฒนายุทธศาสตร์อย่างจริงจังที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายของชุมชน ในขณะเดียวกันก็เป็นการใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยาไปด้วยกัน ปัจจุบันมีอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก รวม 177 แห่ง ใน 46 ประเทศทั่วโลก
ข้อกำหนดสำหรับการพัฒนาอุทยานธรณีระดับประเทศและความหลากหลายทางธรณีวิทยาโดยใช้แนวทางการพัฒนาอุทยานธรณีโลกของ UNESCO เป็นต้นแบบ ข้อกำหนดฯ ดังกล่าวประกอบด้วยเงื่อนไขสำหรับเป็นแนวทางการสมัครเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศแบบสมัครใจ พื้นที่ที่ประสงค์สมัครต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี จะพิจารณาใบสมัครโดยอ้างอิงจากข้อกำหนดฯ นี้
การจัดตั้งอุทยานธรณีเป็นการต่อยอดการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยามรดกทางธรณีวิทยาโดยพื้นที่ที่ต้องการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยต้องผ่านการเป็นอุทยานธรณีระดับท้องถิ่นมาก่อน โดยต้องมีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์มรดกทางธรณี มรดกทางนิเวศวิทยา มรดกทางวัฒนธรรม และโบราณคดี ประกอบด้วยผู้นำจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่อุทยานธรณีที่ดำเนินงานอนุรักษ์ด้านต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิดอุทยานธรณี จากนั้นกลุ่มอนุรักษ์ฯ กำหนดโครงสร้างบริหารอุทยานธรณี ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการอุทยานธรณี และคณะทำงาน รวมถึงกำหนดขอบเขตพื้นที่อุทยานธรณีและแผนบริหารจัดการ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจการเผยแพร่องค์ความรู้การป้องกันและการอนุรักษ์
ใส่ 24 แหล่งสำคัญ ทางธรณี
ตารางที่ 2.1 แหล่งธรณีวิทยา นิเวศวิทยาและวัฒนธรรมในอุทยานธรณีกาฬสินธุ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพที่ 2.1 แผนที่ขอบเขตอุทยานธรณีกาฬสินธุ์
ดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์
พิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์ สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 กรมทรัพยากรธรณี
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่มีการสำรวจ ขุดค้นซากดึกดำบรรพ์มาตลอดระยะเวลาร่วม 40 ปีทำให้มีการค้นพบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ และซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากโดยเฉพาะซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตในมหายุคมีโซโซอิก อาทิ ไดโนเสาร์ เต่า ปลา จระเข้ หอยสองฝา และไม้กลายเป็นหิน แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์แต่ละแหล่งมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของธรณีวิทยา ชนิด และจำนวนซากดึกดำบรรพ์ที่พบความสมบูรณ์ของซากดึกดำบรรพ์ และอายุ สภาพแวดล้อมการสะสมตัว จังหวัดกาฬสินธุ์ตั้งอยู่ในผืนแผ่นดินอนุทวีปอินโดไชน่า จากหลักฐานทางธรณีวิทยาที่พบตะกอนทราย ตะกอนกรวด โคลน รวมถึงซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ ถูกพัดพามา และทับถมกันเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ยุคจูแรสซิก มีตะกอนต่าง ๆ ผ่านกระบวนการทางธรณีวิทยาจะกลายเป็นหินตะกอนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ โดยชั้นที่แก่กว่าจะอยู่ด้านล่าง นักธรณีวิทยาได้จัดจำแนกชั้นหินเหล่านี้ อยู่ในกลุ่มหินโคราช โดยในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีหมวดหินย่อยที่อยู่ในหินโคราช จะแก่ไปอ่อน ได้แก่ หมวดหินภูกระดึง หมวดหินพระวิหาร หมวดหินภูพาน หมวดหินโคกกรวด และโหมดหินมหาสารคาม ซึ่งทางตอนใต้ถูกปิดทับด้วยตะกอนน้ำพายุคควอเทอร์นารี โดยแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญพบอยู่ในหมวดหิน ภูกระดึง หมวดหินพระวิหาร หมวดหินเสาขัว และหมวดหินโคกกรวด ส่วนใหญ่อยู่ตามแนวเขาภูพานทางด้านตะวันออก และภูเขาลูกโดดตอนกลางของจังหวัด แหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้แก่
ภาพที่ 4 แผนที่ธรณีของจังหวัดกาฬสินธุ์
ภูน้อยตั้งอยู่ที่บ้านโคกสนาม ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์มีกระดูกสันหลังมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซากดึกดำบรรพ์ถูกค้นพบจากชั้นหินของหมวดหินภูกระดึงตอนล่าง ที่มีอายุอยู่ในช่วงยุคจูแรสซิกตอนปลาย การสำรวจขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ภูน้อยเริ่มต้นในปีพ.ศ 2551 และ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์มากกว่า 5,000 ชิ้น จากการศึกษาถึงปัจจุบัน พบว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 8 ชนิด ได้แก่
ฉลามน้ำจืด อะโครดัส กาฬสินธุ์เอนซิส
ปลาโบราณ อีสานอิกธิส เลิศบุศย์ศี (Deesri et al. 2014)
ปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป้ (Cavin et al., 2020)
เต่าน้ำจืด ภูน้อยเชลิส ธีระคุปติ (Tong et al., 2014) และเต่าน้ำจืด กาฬสินธุ์นิมิส ปราสาททองโอสถถิ (Tong et al., 2019)
จระเข้ อินโดไซโนซูคัส โปตาโมสยามเอนซิส (Martin et al., 2019) และอินโดไซโนซูคัส กาฬสินธุ์เอสซิส (Johnson et al., 2020)
ไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กกลุ่มออร์นิสทิเชียนแรกเริ่ม มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส (Manitkoon et al., 2023)
ภาพที่ 5 แหล่งขุดค้นภูน้อย ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
นอกจากนี้ ยังพบความหลากหลายของไดโนเสาร์อีก 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวขนาดใหญ่ กลุ่มมาเมนชิซอริเด ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ กลุ่มซินแรพเทอริด (เมทรีอะแคนโตซอิเด) สัตว์เลื้อยคลานบินได้ เทอโรซอร์ กลุ่มแอซดาคอยด์ (Buffetaut et al., 2015) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกลุ่ม แบคิโอพอยดิ (Nonsrirash et al., 2021)
การค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลก และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่พบสูง ทำให้พื้นที่ภูน้อยได้รับการประกาศเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ขึ้นทะเบียนในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563
แหล่งซากดึกดำบรรพ์บริเวณใกล้เคียงกับแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย ได้แก่ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ สเตโกซอร์บ้านโคกสนาม พบกระดูกสันหลังของไดโนเสาร์กลุ่มสเตโกซอริด ซึ่งเป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่ทำให้เรารู้ว่าเคยมีไดโนเสาร์กลุ่มนี้อยู่ในประเทศไทย (Buffetaut et al., 2001)
นอกจากนี้แหล่งซากดึกดำบรรพ์สามชัย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านห้วยยาง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย มีการค้นพบเต่าสายพันธุ์ใหม่ของโลก คือ ยักษ์คีมิส มัลติพอร์คาตา (Tong et al., 2021) ซึ่งประกอบจากชิ้นส่วนกระดูกที่พบในร่องน้ำยังพบชั้นหินที่แน่นอนการเข้าถึงต้องเดินเท้ากว่า 2 กิโลเมตร
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูปอ ตั้งอยู่ที่บ้านนาบอน ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อยประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่มีการค้นพบไม้กลายเป็นหินจำนวนมาก ไม้กลายเป็นหินส่วนใหญ่ที่พบวางอยู่บนพื้นผิว บางต้นยังวางต่อเนื่องกันให้เห็นเป็นลำต้น บางชิ้นวางอยู่บนชั้นตะกอนขนาดละเอียด ทางลำดับชั้นหินชั้นหินที่พบไม้กลายเป็นหินอยู่ด้านบนทางที่พบซากดึกดำบรรพ์แหล่งภูน้อย จากการศึกษาไม้กลายเป็นหิน พบว่าเป็นพืชตระกูลสน (Boonchai et al., 2020)
ภาพที่ 6 แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูปอ ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ปลาภูน้ำจั้นตั้งอยู่ที่บ้านดงเหนือ ตำบลเหล่าใหญ่ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแหล่งที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์มีมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ซากดึกดำบรรพ์ถูกค้นพบในหินโคลนสีเทาเขียวของหมวดหินภูกระดึงตอนบน อายุอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ถูกเก็บรักษาในสภาพที่สมบูรณ์มาก จากการศึกษาพบว่า เป็นปลายสายพันธุ์ใหม่ของโลกถึง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ปลากระดูกแข็ง ไทยอิกธิส พุทธบุตรเอนซิส (Cavin et al., 2013) ปลานักล่า อิสานอิกธิส พาลัสทริส (Cavin & Suteethorn, 2006) และปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตดัส มาร์ตินี (Cavin et al., 2007)
การค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ของโลก และมีความหลากหลายทางชีวภาพที่พบ ทำให้พื้นที่ภูน้ำจั้นได้รับการประกาศเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ขึ้นทะเบียนในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ 2557
แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ภูแฝกตั้งอยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในเขตวนอุทยานภูแฝก ซากดึกดำบรรพ์อยู่ในชั้นหินทรายสีขาว หมวดหินพระวิหาร อายุอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียส ตอนต้น จากการศึกษาพบว่ามีรอยตีนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 25 รอย แต่ปรากฏให้เห็นชัดเจน 7 รอย 1 แนวทางเดิน เป็นของไดโนเสาร์กินเนื้อเทอร์โรพอดขนาดใหญ่ จากขนาดของรอยตีน และระยะก้าว สามารถคำนวณได้ว่าไดโนเสาร์กินเนื้อตัวนี้มีความสูงถึงสะโพกประมาณ 205 เซนติเมตร และเดินด้วยความเร็ว 4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ ยังพบอีก 1 รอยแนวทางเดินที่เป็นของไดโนเสาร์กินพืชซอโรพอดขนาดใหญ่ ถือเป็นแหล่งที่มีรอยตีนไดโนเสาร์ซอโรพอดที่แรกของประเทศไทย รอยตีนทั้งหมดอยู่ในลำห้วย ทำให้รอยตีนค่อย ๆ เลือนและตื้นขึ้น เนื่องจากถูกกระแสน้ำกัดเซาะทุกปีในฤดูฝน
การค้นพบรอยตีนที่เด่นชัดของไดโนเสาร์เทอโรพอต และการค้นพบรอยตีนไดโนเสาร์ซอโรพอดแห่งแรกของประเทศไทย ทำให้พื้นที่แหล่งร้อยปีนภูแฝกได้รับการประกาศเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ขึ้นทะเบียนในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ 2556
ภาพที่ 7 แหล่งซากดึกดำบรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์ภูแฝก ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์บ๋าชาด ตั้งอยู่ในบ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้า งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ แหล่งรอยตีนบ๋าชาด อยู่ห่างจากแหล่งร้อยตีนภูแฝกประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งที่ค้นพบในเดือนมกราคม พ.ศ 2566 จากการสำรวจเบื้องต้นพบรอยตีนที่เห็นชัดเจนกว่า 10 รอย กระจายตัวอยู่บนลานหินทราย รอยตีนไดโนเสาร์ที่พบมีลักษณะปรากฏ 3 นิ้ว มีขนาดแตกต่างกัน เบื้องต้นสันนิษฐานว่าเป็นรอยตีนของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งมีไดโนเสาร์เจ้าของรอยอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ตัว และถือเป็นการค้นพบรอยตีนไดโนเสาร์แห่งใหม่ของประเทศไทย ซึ่งต้องมีการสำรวจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านโนนศึกษา ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซากดึกดำบรรพ์พบในหินทรายเนื้อละเอียดสีน้ำตาลแดง อายุอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น เป็นพื้นที่ที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์โครงกระดูกไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดที่เคยพบมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยโครงกระดูกวางตัวต่อเนื่องกันตั้งแต่ลำตัวไปจนถึงหางที่โค้งตวาดพาดไปบนส่วนสะโพก จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าเป็นไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ พบร่วมกับไดโนเสาร์กินพืชอีก 2 ชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยในรายละเอียดกระดูกและฟันที่พบกระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าวมีจำนวนรวมมากกว่า 700 ชิ้น และคาดว่าเป็นไดโนเสาร์อย่างน้อย 7 ตัว นอกจากนี้ยังค้นพบเต่าสายพันธุ์ใหม่ของโลก ได้แก่ เต่าอีสานนิมิส ศรีสุกิ (Tong et al., 2006) และบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งขุดค้นภูกุ้มข้าว ยังมีการค้นพบฟันฉลาม Sclerorhynchoid ซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อนในประเทศไทย
การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์มากและซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์สายพันธุ์ใหม่ทำให้พื้นที่ภูกุ้มข้าวได้รับการประกาศเป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ขึ้นทะเบียนในวันที่ 5 กันยายนพ.ศ 2557
ภาพที่ 8 แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มข้าว ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
แหล่งซากดึกดำบรรพ์นาไคร้ตั้งอยู่ที่บ้านนาไคร้ ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซากดึกดำบรรพ์พบอยู่ในชั้นหินทรายสีน้ำตาลแดงเนื้อละเอียด จากการขุดสระน้ำของ นายโส สุวรรณไตร จากการศึกษาพบว่าเป็นชิ้นส่วนของกระดูกไดโนเสาร์ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ มากถึงร้อยละ 60 (Suteethorn et al., 2009) ปัจจุบันแรงสร้างตึกดำบรรพ์ถูกใช้ประโยชน์เป็นสระน้ำโดยเจ้าของที่ดิน
แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขื่อนลำปาว ตั้งอยู่ที่ตำบลลำคลอง อำเภอเมืองจังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณทางระบายน้ำล้นของเขื่อนลำปาว ซากดึกดำบรรพ์พบอยู่ในหินกรวดมน อายุอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น แม้จะพบชิ้นส่วนกระจัดกระจายอยู่ไม่หนาแน่น แต่พบว่ามีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซากดึกดำบรรพ์ที่พบได้แก่ ฟันไดโนเสาร์สไปโนซอริด กระดูกไดโนเสาร์โซโรพอต ฟันจระเข้ ฟันฉลาม ฟันและเกล็ดกระดองเต่า และหอยสองฝา
จากการประเมินศักยภาพของแหล่งสร้างดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ ทั้งในด้านคุณค่าทางวิชาการและด้านศักยภาพในการพัฒนาและการจัดบริการจัดการรวมจำนวน 23 แห่ง พบว่าแหล่งที่มีคุณค่าทางวิชาการและศักยภาพในการพัฒนาในระดับปานกลางถึงสูง ได้แก่ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูกุ้มมข้าว แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้อย แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูปอ แหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูแฝก และแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้ำจั้น ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งซากตึกดำบรรพ์เหล่านี้เป็นแหล่งมรดกทางธรณีที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ และเมื่อนำมาประกอบกับข้อมูลมรดกทางธรรมชาติ และมรดกทางวัฒนธรรม ในพื้นที่โดยรอบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนให้จังหวัดกาฬสินธุ์กำหนดขอบเขตของอุทยานธรณีกาฬสินธุ์ ครอบคลุมพื้นที่แหล่งซากดึกดำบรรพ์ในอำเภอสหัสขันธ์ อำเภอคำม่วง อำเภอนาคู อำเภอกุฉินารายณ์ และเชื่อมโยงพื้นที่ 4 อำเภอนี้ด้วยอำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง และอำเภอเขาว งซึ่งมีแหล่งทางธรณีทางธรรมชาติที่สวยงามและวัฒนธรรมชีวิตวิถีชีวิตที่โดดเด่น
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทุมพร ดีศรี
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นของแหล่งและซากดึกดำบรรพ์มีกระดูกสันหลังน้ำจืด โดยพบว่าแหล่งซากดึกดำบรรพ์นั้นมีปรากฏในทุกหมวดหินของกลุ่มหินโคราช ตั้งแต่หมวดหินภูกระดึง ซึ่งเป็นหมวดหินที่มีอายุแก่สุดในยุคจูแรสซิกถึงยุคครีเทเชียส และหมวดหินต่าง ๆ ในยุคครีเทเชียส อย่างหมวดหินพระวิหาร หมวดหินเสาขัว หมวดหินภูพาน และหมวดหินโคกกรวด นอกจากซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ ในแหล่งขุดค้นภูกุ้มข้าว หมวดหินเสาขัว ที่พบในสภาพสมบูรณ์และเป็นที่รู้จักกันแล้วนั้น ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในกลุ่มปลาเองก็พบในสภาพสมบูรณ์และแสดงความหลากหลายด้วยเช่นกัน โดยปลากระดูกแข็ง ทั้งกลุ่มปลาที่มีครีบเป็นก้านคีบและปลาปอด ซึ่งเป็นปลาที่มีครีบเป็นพูเนื้อ พบมากถึง 6 ชนิด ในแหล่งภูน้ำจั้น อำเภอกุฉินารายณ์ และแหล่งภูน้อย อำเภอคำม่วง ในจำนวนนี้มีเพียงตัวเดียว ที่ยังต้องอาศัยความสมบูรณ์ของซากดึกดำบรรพ์ในการระบุชนิด ในหมวดหินเสาขัวและหมวดหินโคกกรวดอีกอย่างน้อย 2 ชนิด ซึ่งตัวอย่างที่ค่อนข้างจำกัดมีเพียงเศษเกล็ด และเศษฟันเท่านั้น ในขณะที่ซากดึกดำบรรพ์ปลาฉลามไฮโบดอนท์ ซึ่งเป็นปลาที่มีโครงร่างภายในเป็นกระดูกอ่อนมีเกล็ดขนาดเล็กฝังอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้การกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ของฉลามมักพบเพียงเศษฟัน เศษเกล็ด และเงี่ยงที่มีโครงสร้างแข็ง ถึงแม้ว่าฉลามจะมีข้อจำกัดในการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ แต่จากซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กที่ได้จากการร่อนตะกอนกลับพบว่ามีความหลากหลายมากถึง 8 ชนิด โดยชนิดที่สามารถระบุและจัดจำแนกได้คือ อะโครดัส กาฬสินธุ์เอนซิส ส่วนที่เหลือระบุได้เพียงระดับสกุล และเมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์โครงร่างของฉลามในแหล่งขุดค้นภูน้อยเพิ่มเติม ถืออเป็นการค้นพบโครงสร้างกระดูกอ่อนและกลุ่มของเกล็ดแปะติดอยู่บนชิ้นกระดูกอ่อนเป็นครั้งแรกซึ่งอาจจะไขปริศนาฟันฉลามที่ยังไม่สามารถระบุชนิดได้อีกด้วย
ภาพที่ 9 ซากดึกดำบรรพ์ฉลาน้ำจืด อะโครดัส กาฬสินธุ์เอนซิส (ก) ฟอสซิลฟันฉลามน้ำจืด (ข) ภาพจำลองฉลามอะโครดัส กาฬสินธุ์เอนซิส
ภาพที่ 10 ซากดึกดำบรรพ์ปลาโบราณ อีสานอิกธิส เลิศบุศย์ศี (Deesri et al. 2014) (ก) ฟอสซิลปลา อีสานอิกธิส เลิศบุศย์ศี (ข) ภาพจำลอง อีสานอิกธิส เลิศบุศย์ศี
อย่างไรก็ตามความหลากชนิดและความสมบูรณ์ของซากดึกดำบรรพ์ปลาที่กล่าวในข้างต้น ปรากฏในแหล่งของหมวดหินภูกระดึงเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่หมวดหินเสาขัว และหมวดหินโคกกรวดที่ มีอายุอ่อนกว่า กลับพบจำนวนซากดึกดำบรรพ์น้อยกว่าและมีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ ทั้งนี้อาจเป็นผลจากแหล่งในหมวดหินภูกระดึงส่วนมากมีสภาพแวดล้อมบรรพกาลในลักษณะที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของทางน้ำโค้งตวัด ในแหล่งภูน้อย หรือแหล่งภูน้ำจั้นที่คาดว่าเกิดจากระดับน้ำในบึงค่อย ๆ ลดลงและแห้งไปในที่สุด จึงทำให้พบซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสมบูรณ์และมีความหลากชนิดของปลาเป็นจำนวนมาก ตรงกันข้ามกับแหล่งในหมวดหินอายุอ่อนทั้ง 2 หมวดหิยพบเพียงเกร็ดเกรดและฟันคาดว่าเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เป็นธารน้ำไหล
โดยดร. วิไลลักษณ์นาคศรี
โปรแกรมชีววิทยามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์มาจนถึงยุคปัจจุบันลักษณะเฉพาะของกลุ่มก็คือมีกระดองหลัง (Carapace) และกระดองท้อง (Plastron) ซึ่งเป็นส่วนแข็งของร่างกาย ทำให้ส่วนดังกล่าวถูกเก็บรักษาและกลายสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ นอกจากกระดองส่วนแข็งอื่นของร่างกายเต่า ก็สามารถถูกเก็บรักษาและกลายสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ ทั้งชิ้นส่วนของกระดูกต่าง ๆ รวมทั้งกะโหลก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่นำมาใช้ในการจำแนกชนิด และนำไปสู่การศึกษาความสำคัญด้านต่าง ๆ
ในประเทศไทยมีการค้นพบแหล่งซากดึกดำบรรพ์เต่าหลากหลายยุค และหลายแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่มหายุคมีโซโซอิก จนถึงมหายุคซีโนโซอิก โดยส่วนใหญ่มีการค้นพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีแหล่งซากดึกดำบรรพ์หลายแห่งในยุคจูแรสซิกตอนปลายถึงครีเอเชียตอนต้น ในหมวดหินภูกระดึง หมวดหินเสาขัว และหมวดหินโคกกรวด โดยมีการศึกษาและรายงานอย่างต่อเนื่องโดย ดร.ไฮยัน ตง และคณะ ทีมบรรพชีวินวิทยาไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งมีแหล่งขุดค้นที่สำคัญในจังหวัดคือ แหล่งขุดค้นภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ แหล่งขุดค้นภูน้อย อำเภอคำม่วง และแหล่งบ้านห้วยยาว อำเภอสามชัย โดยซากดึกดำบรรพ์เต่ามีการค้นพบร่วมกับไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุคอื่น ๆ เช่น จระเข้ ปลากระดูกแข็ง ฉลามน้ำจืด และเทอโรซอร์ เป็นต้น ความหลากหลายของซากดึกดำบรรพ์เต่าน้ำจืดที่พบในจังหวัดกาฬสินธุ์มีชนิดใหม่ของโลก 4 ชนิด จากความหลากหลายของซากดึกดำบรรพ์ 12 ชนิดที่พบในประเทศไทยในปัจจุบัน นับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ และสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความสำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีการขับเคลื่อนงานสำรวจ ขุดค้น และวิจัยในแหล่งดังกล่าวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ซากดึกดำบรรพ์เต่าในหมวดหินเสาขัว
หมวดหินเสาขัว เป็นหนึ่งในกลุ่มหินโคราชที่อยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น อายุ 130 ล้านปี มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังจำนวนมากและหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ เช่น ฉลามน้ำจืด ปลากระดูกแข็ง จระเข้ รวมทั้งเต่า ในหมวดดหินนี้พบซากดึกดำบรรพ์ที่มีการจัดจำแนกในระดับชนิด 1 ชนิดคือ เต่าอิสานเนมิส ศรีสุขกิ
เต่าอิสานเนมิส ศรีสุขกิ เป็นเต่าน้ำจืดสกุลและชนิดใหม่ของโลก ขนาดเล็ก มีความยาวกระดองประมาณ 26.5 เซนติเมตร จัดอยู่ในวงศ์ Adocidae โดยชื่อสกุลมาจากคำว่า Isan มาจากชื่อ อีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และ emys มาจากภาษากรีก แปลว่า เต่า รวมกันหมายถึงเต่าจากอีสาน ส่วนชื่อชนิด srisuki ตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ นายพลาเดช ศรีสุข ผู้ค้นพบและเก็บตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์เต่าชนิดนี้ในแหล่งภูวัด
ความสำคัญ จากลักษณะของกระดองชนิดนี้แสดงให้เห็นถึงการมีลักษณะร่วมกันของเต่ากลุ่ม adocids และ nanhsiungchelyids ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่าเต่าทั้งสองกลุ่มมีวิวัฒนาการสายเดี่ยว (monophyletic group) ภายใต้กลุ่ม trionychoids
ซากดึกดำบรรพ์เต่าในหมวดหินภูกระดึง
หมวดหินภูกระดึงเป็นหมวดหินที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่มหินโคราช มีอายุอยู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายถึงครีเทเชียสตอนต้น อายุประมาณ 150 ล้านปี เป็นหมวดหินที่มีความหลากหลายของสัตว์มีกระดูกสันหลังจำนวนมาก ได้แก่ ไดโนเสาร์ จระเข้ เต่า ปลากระดูกแข็ง ฉลามน้ำจืด เทอโรซอร์ ในหลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดกาฬสินธุ์ พบซากดึกดำบรรพ์อย่างน้อย 3 ชนิด ที่เป็นชนิดใหม่และสกุลใหม่ของโลก
ความสำคัญ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์เต่าชนิดนี้ช่วยยืนยันอายุของแหล่งขุดค้นภูน้อยให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์เต่าที่พบในประเทศจีน ที่มีอายุอยู่ในช่วงใกล้เคียงกัน พบว่าเต่าทั้งสองชนิดมีวิวัฒนาการใกล้เคียงกัน จึงเป็นหลักฐานที่บ่งบอกอายุของซากดึกดำบรรพ์เต่า และอายุของแหล่งขุดค้นว่าอยู่ในช่วงยุคจูแรสซิกตอนปลาย เช่นเดียวกับของจีน นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวทางชีวภูมิศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตในยุคจูแรสซิกตอนปลาย ว่ามีการเชื่อมโยงการระหว่างตอนใต้ของประเทศจีนและประเทศไทย
ความสำคัญ เต่าที่พบในแหล่งภูน้อยมีความใกล้ชิดกับแหล่งกับเต่าที่พบในยุคจูแรสซิกตอนกลางถึงตอนปลายของประเทศจีนและเอเชียกลาง เป็นหลักฐานที่สนับสนุนอายุยุคจูแรสซิกตอนปลายของตอนล่างของหมวดหินภูกระดึงในแหล่งภูน้อย การกระจายตัวทางชีวภูมิศาสตร์แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตอนเหนือ (ประเทศจีน และเอเชียตอนกลาง) ในช่วงเวลาของหมวดหินภูกระดึงตอนล่าง การค้นพบนี้ยังทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการของเต่าในกลุ่ม Eucryptodian
ความสำคัญ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์เต่าชนิดนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการสนับสนุนอายุยุคครีเทเชียสตอนต้นของหมวดหินภูกระดึง
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คมสร เลาห์ประเสริฐ
ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นส่วนที่สามารถถูกเก็บรักษาได้ดี และมีโอกาสกลายเป็นฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ได้ดีที่สุด ต้องเป็นส่วนที่แข็งของร่างกาย แต่บางครั้งก็พบว่าส่วนที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มสามารถกลายสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้เช่นเดียวกั นเพียงแต่โอกาสพบนั้นน้อยมาก ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์จระเข้โบราณจึงถูกพบในส่วนของกะโหลก กระดูกร่างกาย และเกล็ด (osteoderm) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังสามารถพบฟันซึ่งผิวชั้นนอกถูกเคลือบด้วยสารเคลือบฟัน หรือ อีนาเมล (enamel) ซึ่งช่วยทำหน้าที่ป้องกันตัวฟันให้อยู่คงสภาพดี ในบางครั้งเราอาจพบร่องรอยต่าง ๆ ที่จระเข้สร้างขึ้นในอดีต เช่น รอยตีน รอยคลาน อุจจาระ หรือ กรวดหินในกระเพาะอาหาร ก็เป็นได้ เมื่อใดก็ตามที่นักบรรพชีวินวิทยาพบอุจจาระหรือกรวดหินในกระเพาะอาหารปรากฏอยู่ในซากดึกดำบรรพ์จระเข้โบราณ หรือในแหล่งใกล้เคียงก็สามารถอนุมานได้ว่าเป็นร่องรอยที่เกิดจากจระเข้จริง ๆ น่าเสียดายที่การขุดค้นในประเทศไทยเจออุจจาระและกรวดในกระเพาะอาหารของจระเข้โบราณน้อยมาก หรือพบแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของสัตว์กลุ่มใดแน่
ขั้นตอนการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ของจระเข้นั้นเหมือนกับสัตว์อื่น ๆ ในอดีตคือ เมื่อจระเข้ตาย เนื้อเยื่อส่วนที่อ่อนนุ่มจะถูกย่อยสลาย จากนั้นก็ถูกทับถมด้วยตะกอนอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเป็นชั้นตะกอนที่หนาแน่น เมื่อเวลาผ่านไปโครงกระดูกจะถูกแทนที่ด้วยแร่ธาตุที่แทรกซึมเข้ามา จระเข้ค่อนข้างมีโอกาสที่จะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้สูง เพราะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ แต่ทว่าจากการสำรวจในประเทศไทย ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เรากลับพบซากดึกดำบรรพ์ของจระเข้ในประเทศไทยน้อยกว่าสัตว์บกขนาดใหญ่ เช่น ไดโนเสาร์เสียอีก
ตลอดระยะเวลาที่มีการศึกษาด้านบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย ข้อมูลความหลากหลายของจระเข้โบราณก็ค่อย ๆ มีการรายงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์จระเข้ที่พบ คือ ฟันและเกล็ด เนื่องจากมีความแข็งแรง ขนาดเล็ก และมีจำนวนมากเมื่อเทียบกับจระเข้ 1 ตัว แต่ส่วนที่สำคัญ และเป็นชิ้นส่วนที่สามารถบ่งบอกสายพันธุ์ของจระเข้อย่างกะโหลกมักจะพบได้ยาก และพบเป็นเศษแตกหักไม่สมบูรณ์เสียส่วนมาก ก่อนที่แหล่งขุดค้นภูน้อยจะถูกพบ แหล่งขุดค้นที่สำคัญสำหรับตัวอย่างจระเข้ คือ แหล่งขุดค้นภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และแหล่งขุดค้นภูพอก จังหวัดสกลนคร เนื่องจากทั้ง 2 แหล่งมีการสำรวจพบชิ้นส่วนกะโหลกจระเข้ แหล่งละ 2-3 สายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม กะโหลกที่พบอยู่มีแค่สายพันธุ์ละ 1-2 ชิ้น และส่วนมากถูกเก็บรักษาในสภาพที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ จนกระทั่งปี พ.ศ 2551 ส่วนท้ายกะโหลกของจระเข้ถูกค้นพบที่แหล่งขุดค้นภูน้อย จากนั้นในปีต่อ ๆ มาก็มีการขุดค้นพบกะโหลกจระเข้อีกรวมอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 กะโหลก แม้ว่าตัวอย่างทั้งหมดจะเป็นของจระเข้ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่สิ่งที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่า นั่นคือ การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของจระเข้เป็นจำนวนมากในแหล่งขุดค้นเดียวกัน
แหล่งภูน้อยแห่งเดียวเท่านั้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของตัวอย่างจระเข้ จึงนับได้ว่าเป็นพื้นที่แรกของประเทศไทยที่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์จระเข้เป็นกลุ่มใหญ่ขนาดนี้ ยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อส่วนที่พบเป็นส่วนของกะโหลกที่ค่อนข้างสมบูรณ์ถึง 6 ชิ้นด้วยกัน ข้อมูลต่าง ๆ ของตัวอย่างจระเข้ที่ถูกค้นพบ ได้รับการศึกษาวิจัย โดยทีมวิจัยไทย-ฝรั่งเศส ด้วยการเปรียบเทียบตัวอย่างจากทั่วโลก และการศึกษาทางสายวิวัฒนาการ ทำให้ทราบว่าตัวอย่างจระเข้ทั้งหมดนั้นเป็นจระเข้อันดับย่อย Thalattosuchian จัดอยู่ในวงศ์ Teleosauridae ทีมวิจัยได้มีการอธิบายลักษณะสำคัญต่าง ๆ และตั้งให้เป็นจระเข้สกุลและชนิดใหม่ของโลกคือ Indosinosuchus potamosiamensis ปัจจุบันจระเข้ชนิดใหม่นี้สามารถพบเพียงที่จังหวัดกาฬสินธุ์เท่านั้น จึงจัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของจังหวัดกาฬสินธุ์ก็ว่าได้
Thalattosuchian คือชื่ออันดับย่อยของสัตว์ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายจระเข้ ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคจูแรสซิก และครีเทเชียส พบการกระจายตัวได้ทั่วโลก ยกเว้นบริเวณเส้นละติจูดที่สูง จระเข้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล มีความสามารถในการปรับตัวได้ดี มีลักษณะสัณฐานวิทยาไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่จะมีลักษณะจมูกยาว และสามารถขึ้นมาอยู่บนบกได้
จากการสำรวจซากดึกดำบรรพ์ในจังหวัดกาฬสินธุ์ พบจระเข้ กลุ่ม Teleosaurids ซึ่งเป็นสมาชิกในกลุ่มย่อย Thalattosuchian จำนวนกว่า 10 ตัวอย่าง หลังจากการวิเคราะห์ และเปรียบเทียบตัวอย่างกับตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์จระเข้ที่ถูกพบในทวีปยุโรปและเอเชียแล้ว พบว่าตัวอย่างจระเข้ Teleosaurids ที่พบบริเวณแหล่งขุดค้นภูน้อย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจระเข้สกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก คณะวิจัยได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่า Indosinosuchus potamosiamensis โดยชื่อสกุล Indosinosuchus ตั้งจากแผ่นอนุทวีปอินโดไชน่า ซึ่งเป็นแหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ และชื่อวิทยาศาสตร์ potamosiamensis ตั้งเพื่ออ้างถึงการปรากฏของซากดึกดำบรรพ์ในแหล่งที่อยู่อาศัยน้ำจืดของประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความประหลาดใจให้แก่นักวิจัยเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงที่เริ่มศึกษาการกระจายตัวของจระเข้กลุ่มนี้
จระเข้กลุ่มนี้เป็นจระเข้ที่อาศัยอยู่ในทะเลเป็นส่วนใหญ่ ซากดึกดำบรรพ์ส่วนมาก มักถูกพบในบริเวณสะสมตัวของตะกอนชายขอบ หรือชายฝั่งของยุโรป และจีน ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยแบบทะเล หรือน้ำกร่อย การค้นพบ Teleosaurids หลายตัวในคราวเดียวกันในบริเวณภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทยมีความสำคัญคือ
ข้อแรกแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกลุ่มซากดึกดำบรรพ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดช่วงมหายุคมีโซโซอิก โดยการปรากฏตัวของจระเข้น้ำเค็มพวก Thalattosuchian ที่มีการย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในน้ำจืดระหว่างช่วงยุคจูแรสซิก
ข้อสองแสดงให้เห็นว่าจระเข้กลุ่มนี้มีความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม การค้นพบจระเข้ในตะกอนการสะสมตัวบนแผนทวีป ที่แหล่งขุดค้นภูน้อย อำเภอคำม่วงนั้น เหนือความคาดหมายมาก เนื่องจากส่วนใหญ่นักบรรพชีวินวิทยาจะพบซากดึกดำบรรพ์ของจระเข้ชนิดนี้ในแหล่งน้ำเค็มและทะเลดังที่กล่าวไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากดูกันตามสภาพทางธรณีวิทยาแล้ว พบว่าการสะสมตัวของตะกอนบริเวณแหล่งขุดค้นภูน้อยนั้น เป็นการสะสมตัวของตะกอนน้ำจืด ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาธาตุกัมมันตรังสีไอโซโทปสตรอนเชียม (Strontium) ยืนยันว่าจระเข้ที่ปรากฏบริเวณแหล่งภูน้อยนั้น อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบน้ำจืด บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยตั้งแต่ยุคจูแรสซิกตอนปลายแล้ว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันบ่อยครั้งที่เราสามารถพบเห็นจระเข้น้ำจืดเข้ามาอาศัยหรือหากินในบริเวณแหล่งน้ำกร่อย และอาจหากินลึกเข้าไปในแหล่งน้ำจืดได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหาร และสภาพแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ การพบจระเข้กลุ่มนี้ในบริเวณตะกอนน้ำกร่อย น้ำจืด จึงเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะค่อนข้างยากก็ตาม นอกจากส่วนของกะโหลกแล้ว ยังมีการพบส่วนฟัน เกล็ด และกระดูกสันหลังของจระเข้ Indosinosuchus potamosiamensis อีกเป็นจำนวนมากในแหล่งภูน้อย และเมื่อปีพ.ศ 2563 นักวิจัยจากสหราชอาณาจักรได้ทำการศึกษาสายวิวัฒนาการของจระเข้วงศ์ Teleosauridae พบว่าจระเข้สกุล Indosinosuchus ที่พบในแหล่งขุดค้นภูน้อยน่าจะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ พร้อมกับตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่ว่า Indosinosuchus kalasinensis
ทำให้ปัจจุบันจังหวัดกาฬสินธุ์มีจระเข้ประจำถิ่นอยู่ 2 ชนิดซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน
1. มรดกทางวัฒนธรรม
จังหวัดกาฬสินธุ์มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา และประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น วิถีชีวิตชาวผู้ไทที่ยังคงรักษาภาษาและวัฒนธรรมเดิม รวมถึงไหมแพรวาที่มีชื่อเสียง และประเพณีบั้งไฟตะไลล้านที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในโลก
จังหวัดนี้เป็นแหล่งมรดกทางธรณีที่สำคัญ มีแหล่งซากดึกดำบรรพ์มากกว่า 30 แหล่ง โดยเฉพาะที่ภูกุ้มข้าวและภูน้อย ซึ่งเป็นที่ค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์ที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์สิรินธรเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านธรณีวิทยา
3. มรดกทางระบบนิเวศ
จังหวัดกาฬสินธุ์มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น เทือกเขาภูพาน น้ำตกผาลี่ และแหล่งน้ำสำคัญที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชาวบ้าน อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
อุทยานธรณีกาฬสินธุ์ (GEO PARK KALASIN)
กาฬสินธุ์ถิ่นไดโนเสาร์
ในปี พ.ศ. 2521 ทีมสำรวจได้พบกระดูก 3 ชิ้นที่บริเวณภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และนำมาตรวจสอบพบว่าเป็นกระดูกขาซ้ายของไดโนเสาร์ซอโรพอด การสำรวจในปี พ.ศ. 2537 พบแหล่งสะสมกระดูกเพิ่มเติม แต่เนื่องจากสภาพฝนตกทำให้ต้องหยุดขุดชั่วคราวและกลับมาขุดใหม่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 พบกระดูกจำนวนมากรวมถึงโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่เกือบสมบูรณ์ทั้งตัวขาดเพียงส่วนคอ โครงกระดูกนี้เป็นโครงสมบูรณ์ที่สุดที่เคยพบในประเทศไทย จากการขุดค้นตลอดปี พ.ศ. 2538 พบกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอด 3 ชนิด และเทอโรพอด 2 ชนิด รวมกว่า 700 ชิ้น จนถึงปี พ.ศ. 2562 มีการค้นพบกระดูกเพิ่มเติมรวมถึงกล่องสมองของไดโนเสาร์ซอโรพอด
ภูผางัว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์ที่คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสแวะมาสำรวจหลายครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เมื่อชาวบ้านพบกระดูกที่คาดว่าเป็นช้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 มีการพบกระดูกอีกครั้งขณะปรับพื้นที่ทำให้มีการแจ้งคณะสำรวจมาตรวจสอบพบว่ามีกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2537 ได้พบโครงกระดูกของภูเวียงโกซอรัสที่สมบูรณ์มีส่วนกะโหลกซึ่งสำคัญ
ที่ภูแฝกพบรอยตีนไดโนเสาร์กินเนื้อจำนวน 21 รอยกระจายอยู่ในชั้นหินทราย ยุคครีเทเชียตอนต้น ที่บ้านโคกสนาม ตำบลดินสี อำเภอคำม่วง ในปี พ.ศ. 2539 คณะสำรวจพบกระดูกสันหลังรูปสามง่ามของไดโนเสาร์สเตโกซอร์
ในปี พ.ศ. 2541 เจ้าอาวาสวัดพุทธบุตร อำเภอเขาวง พบชิ้นส่วนเกร็ดปลาดึกดำบรรพ์จากการขุดค้นครั้งถัดไปในปี พ.ศ. 2545 คณะสำรวจพบฟอสซิลปลากระดูกแข็งกว่า 270 ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์
ในปี พ.ศ. 2542 ชาวบ้านนาสมบูรณ์พบกระดูกฝังอยู่ในหินที่ภูเป้ง คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสตรวจสอบและพบว่ามีแหล่งไดโนเสาร์ขนาดเล็กในพื้นที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ซึ่งเป็นกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอดวัยเด็กอย่างน้อย 3 ตัว
ในปี พ.ศ. 2549 ชาวบ้านที่เขื่อนลำปาวพบกระดูกขาขนาดใหญ่ของไดโนเสาร์ในหินเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีได้ตรวจสอบและยืนยันว่าเป็นซากกระดูกไดโนเสาร์ในชั้นหินกรวดมน
ที่ภูน้อย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2551 ชาวบ้านพบกระดูกสัตว์โบราณ คณะสำรวจได้ขุดค้นในปี พ.ศ. 2553 พบโครงกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่และซากสัตว์อื่น ๆ เช่น เทอโรพอด ซินแดปเตอร์ ปลาฉลาม และจระเข้ การสำรวจยังดำเนินต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน พบกระดูกไดโนเสาร์หลายพันชิ้นจากหลากหลายสายพันธุ์
ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู พบรอยตีนไดโนเสาร์กว่า 10 รอย
ที่จังหวัดกาฬสินธุ์มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จากยุคจูราสสิคตอนปลายถึงครีเทเชียสตอนต้นพบในหลายหมวดหิน เช่น ภูกระดึง พระวิหาร และโคกกรวด ซึ่งเป็นชั้นหินที่มีการสะสมตัวของกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมาก
ที่แหล่งภูน้อย ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญพบกระดูกไดโนเสาร์จำนวนมากโดยส่วนใหญ่เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด เช่น มาเมนชิซอรัส รวมถึงสัตว์อื่น ๆ เช่น จระเข้และเต่ายักษ์ ซึ่งพบในชั้นหินตอนบนและตอนล่างต่างกันอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ที่ภูแฝก ยังพบรอยทางเดินของไดโนเสาร์เทอโรพอดและซอโรพอดหลายรอยซึ่งมีความชัดเจนและบ่งบอกถึงไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้
การศึกษายังดำเนินอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายพันธุ์และพฤติกรรมของไดโนเสาร์เหล่านี้
ในหมวดหินเสาขวาพบไดโนเสาร์ซอโรพอดคอยาวกินพืชชื่อ "ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน่" เป็นครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และพบในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร ร้อยเอ็ด และยโสธร
โครงกระดูกที่สมบูรณ์ที่สุดของภูเวียงโกซอรัสอยู่ในชั้นหินทรายแป้งสีแดงแกมม่วงที่แหล่งภูมิคุ้มข้าวโดยขาดเพียงส่วนคอ ท่อนหน้า และฝ่าตีน โครงกระดูกนี้ไม่ได้เคลื่อนย้ายออกจากแหล่งและยังไม่ได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียด
ที่แหล่งปูแป้ง (ห่างจากภูมิคุ้มข้าว 7 กิโลเมตร) พบกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอดวัยเยาว์ 3 ตัว ซึ่งคาดว่าเป็นพื้นที่อนุบาลของไดโนเสาร์ นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกสมบูรณ์อีกโครงที่บ้านนาไคร้ ซึ่งมีส่วนกะโหลกและกระดูกสันหลังที่สมบูรณ์ถึง 60% โครงกระดูกนี้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างของภูเวียงโกซอรัส
จากการศึกษาพบว่าภูเวียงโกซอรัสมีการพัฒนาหูชั้นในที่สามารถรับเสียงย่านความถี่ต่ำ บ่งบอกถึงการอาศัยอยู่ในป่าทึบมากกว่าทุ่งหญ้าโล่ง
ในพื้นที่ขุดค้นเดียวกันที่หมวดหินเสาขัว จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการพบไดโนเสาร์ซอโรพอดถึง 3 สายพันธุ์ โดยยืนยันจากการตรวจสอบกระดูก รามและฟัน โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์โมกราฟและ CT Scan พบลักษณะฟันและกล่องสมองที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ได้แก่
ในแหล่งขุดค้นนี้พบโครงกระดูกไดโนเสาร์ซอโรพอดจำนวนมากกว่า 700 ชิ้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ รวมทั้งมีการค้นพบพื้นที่อนุบาลไดโนเสาร์วัยเยาว์ที่พบกระดูกของไดโนเสาร์ขนาดเล็ก 3 ตัวที่อยู่รวมกัน นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อ เช่นเทอร์โรพลาสต์และสไปโนซอริก แต่ยังไม่พบกระดูกไดโนเสาร์กินเนื้อในพื้นที่นี้
ระบบนิเวศของหมวดหินเสาขัวต่างจากแหล่งอื่น เช่น แหล่งภูเวียง ซึ่งมีไดโนเสาร์กินเนื้อมากกว่า 7 สายพันธุ์ แสดงถึงสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน